ความหมายของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
(E-book)
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หรือที่รู้จักกันในชื่ออีบุ๊ค (eBook หรือ e-Book) เป็นคำภาษาต่างประเทศ ย่อมาจากคำว่า electronic
book หมายถึง
หนังสือที่สร้างขึ้นด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์มีลักษณะเป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์
โดยปกติมักจะเป็นแฟ้มข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่สามารถอ่านเอกสารผ่านทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ทั้งในระบบออฟไลน์และออนไลน์
คุณลักษณะของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถเชื่อมโยงจุดไปยังส่วนต่างๆ
ของหนังสือ เว็บไซต์ต่างๆ ตลอดจนมีปฏิสัมพันธ์และโต้ตอบกับผู้เรียนได้
นอกจากนั้นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถแทรกภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว แบบทดสอบ
และสามารถสั่งพิมพ์เอกสารที่ต้องการออกทางเครื่องพิมพ์ได้
อีกประการหนึ่งที่สำคัญก็คือ
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยได้ตลอดเวลา
ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้จะไม่มีในหนังสือธรรมดาทั่ว
ลักษณะของ E-book
รูปแบบสิ่งพิมพ์ด้านอิเล็กทรอนิกส์และมัลติมีเดีย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลิตภัณฑ์ที่เป็นแผ่นจานข้อมูลเสียง เช่น ซีดีรอม
แผ่นซีดีรอมสามารถจัดข้อมูลได้จำนวนมากในรูปแบบของตัวอักษรทั้งลักษณะภาพดิจิตอล
ภาพอะนิเมชั่น วีดีโอ ภาพเคลื่อนไหวต่อเนื่อง คำพูด เสียงดนตรี และเสียงอื่น ๆ
-
รูปแบบหนังสือที่อยู่ในรูปแบบดิจิทัล
โดยแสดงให้เห็นบนจอคอมพิวเตอร์ไม่บังคับการพิมพ์และการเข้าเล่ม
-
รูปแบบของหนังสือที่สามารถนำข้อมูลต่าง ๆ ลงไปจัดเก็บลงในเครื่อง palm ทำให้สามารถที่จะพกพาหนังสือหรือเอกสารจำนวนมากไปอ่าน ณ ที่ใดก็ได้
เพียงแต่นำเครื่อง palm ติดตัวไปเพียงเครื่องเดียว
องค์ประกอบของ E-book
1.
เครื่องอ่าน หรือคอมพิวเตอร์แบบปาล์ม แบบพกพา
2.ซอฟต์แวร์
-ซอฟต์แวร์สำหรับการอ่าน
-ซอฟต์แวร์สำหรับการเขียน
3.
มาตรฐานของตัวหนังสือ
4. Security
/ Protection Tools & Standard
5. Multi
Fucntion Devices
6.อักขระ
(Text) หรือข้อความ
7.ภาพนิ่ง
(Still
Image)
8.ภาพเคลื่อนไหว
(Animation)
9.เสียง
(Sound)
10.ภาพวีดิทัศน์
(Video)
11.การจัดเก็บข้อมูลมัลติมีเดีย
ประเภทของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ แบ่งออกเป็น 10 ประเภท ดังนี้คือ
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ แบ่งออกเป็น 10 ประเภท ดังนี้คือ
1) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
หรือแบบตำรา (Textbooks) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
รูปหนังสือปกติที่พบเห็นทั่วไป
หลักหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ชนิดนี้สามารถกล่าวได้ว่าเป็นการแปลงหนังสือจากสภาพสิ่งพิมพ์ปกติเป็นสัญญาณดิจิตอล
เพิ่มศักยภาพเดิมการนำเสนอ การปฏิสัมพันธ์ ระหว่างผู้อ่านหนังสืออีเล็กทรอนิกส์
ด้วยศักยภาพของคอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐาน เช่น การเปิดหน้าหนังสือ การสืบค้น
การคัดเลือก เป็นต้น
2) หนังสืออีเล็กทรอนิกส์ แบบหนังสือเสียงอ่าน มีเสียงคำอ่าน เมื่อเปิดหนังสือจะมีเสียง
อ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประเภทเหมาะสำหรับหนังสือเด็กเริ่มเรียน หรือหนังสือฝึกออกเสียง หรึอฝึกพูด (Talking Book1) เป็นต้น หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ชนิดนี้เป็นการเน้นคุณลักษณะด้านการนำเสนอเนื้อหาที่เป็นตัวอักษรและเสียงเป็นคุณลักษณะหลัก นิยมใช้กับกลุ่มผู้อ่านที่มีระดับลักษณะทางภาษาโดยเฉพาะด้านการฟังหรือการอ่านค่อนข่างต่ำ เหมาะสำหรับการเริ่มต้นเรียนภาษาของเด็ก ๆ หรือผู้ที่กำลังฝึกภาษาที่สอง หรือฝึกภาษาใหม่เป็นต้น
อ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประเภทเหมาะสำหรับหนังสือเด็กเริ่มเรียน หรือหนังสือฝึกออกเสียง หรึอฝึกพูด (Talking Book1) เป็นต้น หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ชนิดนี้เป็นการเน้นคุณลักษณะด้านการนำเสนอเนื้อหาที่เป็นตัวอักษรและเสียงเป็นคุณลักษณะหลัก นิยมใช้กับกลุ่มผู้อ่านที่มีระดับลักษณะทางภาษาโดยเฉพาะด้านการฟังหรือการอ่านค่อนข่างต่ำ เหมาะสำหรับการเริ่มต้นเรียนภาษาของเด็ก ๆ หรือผู้ที่กำลังฝึกภาษาที่สอง หรือฝึกภาษาใหม่เป็นต้น
3) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบหนังสือภาพนิ่ง หรืออัลบั้มภาพ (static Picture Books)
เป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ที่มีคุณลักษณะหลักเน้นจัดเก็บข้อมูล
และนำเสนอข้อมูลในรูปแบบภาพนิ่ง (static picture) หรืออัลบั้มภาพเป็นหลัก
เสริมด้วยการนำศักยภาพของคอมพิวเตอร์มาใช้ในการนำเสนอ เช่น การเลือกภาพที่ต้องการ
การขยายหรือย่อขนาดของภาพของคอมพิวเตอร์มาใช้ในการนำเสนอ เช่น
การเลือกภาพที่ต้องการ การขยายหรือย่อขนาดของภาพหรือตัวอักษร
การสำเนาหรือการถ่ายโอนภาพ การแต่งเติมภาพ การเลือกเฉพาะส่วนของภาพ (cropping)
หรือเพิ่มข้อมูล เชื่อมโยงภายใน (Linking information) เช่น เชื่อมข้อมูลอธิบายเพิ่มเติม เชื่อมข้อมูลเสียงประกอบ เป็นต้น
4) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ แบบหนังสือภาพเคลื่อนไหว (Moving Picture Books) เป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่เน้น การนำเสนอข้อมูลในรูปแบบภาพวีดิทัศน์ (Video
Clips) หรือภาพยนตร์สั้น ๆ (Films Clips) ผนวกกับข้อมูลสนเทศที่อยู่ในรูปตัวหนังสือ
(Text Information) ผู้อ่านสามารถเลือกชมศึกษาข้อมูลได้
ส่วนใหญ่นิยมนำเสนอข้อมูลเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ หรือเหตุการณ์สำคัญ เช่น
ภาพเหตุการณ์สงคราโลก ภาพการกล่าวสุนทรพจน์ของบุคคลสำคัญ ๆ ของโลกในโอกาสต่าง ๆ
ภาพเหตุการณ์ความสำเร็จหรือสูญเสียของโลกเป็นต้น
5) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบหนังสือสื่อประสม
(Multimedia) เป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่เน้นเสนอข้อมูลเนื้อหาสาระ
ในลักษณะแบบสื่อผสมระหว่างสื่อภาพ (Visual Media) เป็นทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวกับสื่อประเภทเสียง
(Audio Media)ในลักษณะต่าง ๆ
ผนวกกับศักยภาพของคอมพิวเตอร์อื่นเช่นเดียวกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ
ที่กล่าวมาแล้ว
6) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบหนังสือสื่อหลากหลาย
(Polymedia books) เป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีลักษณะเช่นเดียวกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบสื่อประสม
แต่มีความหลากหลายในคุณลักษณะด้านความเชื่อมโยงระหว่างข้อมูลภายในเล่มที่บันทึกในลักษณะต่าง
ๆ เช่น ตัวหนังสือภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียงดนตรี และอื่น ๆ เป็นต้น
7) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบหนังสือเชื่อมโยง
( Hypermedia Book) เป็นหนังสือที่มีคุณลักษณะสามารถเชื่อมโยงเนื้อหาสาระภายในเล่ม
(Internal Information Linking) ซึ่งผู้อ่านสามารถคลิกเพื่อเชื่อมไปสู่เนื้อหาสาระที่ออกแบบเชื่อมโยงกันภายใน
ภารเชื่อมโยงเช่นนี้มีคุณลักษณะเช่นเดียวกับบทเรียนโปรแกรมแบบแตกกิ่ง ( Branching
Programmed Instruction)นอกจากนี้ยังสามารถเชื่อมโยงกับแหล่งเอกสารภายนอก
(External or Information Sources) เมื่อเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ต
8) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบหนังสืออัจฉริยะ
( Intelligent Electronic Books) เป็นหนังสือประสม
แต่มีการใช้โปรแกรมชั้นสูงที่สามารถมีปฏิกิริยา หรือ ปฏิสัมพันธ์
กับผู้อ่านเสมือนหนังสือมีสติปัญญา (อัจฉริยะ) ในการไตร่ตรอง
หรือคาดคะเนในการโต้ตอบ หรือปฏิกิริยากับผู้อ่าน
9) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
แบบสื่อหนังสือทางไกล ( Telemedia Electronic Books)
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประเภทนี้มีคุณลักษณะหลักต่าง
ๆ คล้ายกับ Hypermedia Electronic Books
แต่เน้นการเชื่อมโยงกับแหล่งข้อมูลภายนอกผ่านระบบเครือข่าย ( Online Information Sourcess) ทั้งที่เป็นเครือข่ายเปิด และเครือข่ายเฉพาะสมาชิกของเครือข่าย
แต่เน้นการเชื่อมโยงกับแหล่งข้อมูลภายนอกผ่านระบบเครือข่าย ( Online Information Sourcess) ทั้งที่เป็นเครือข่ายเปิด และเครือข่ายเฉพาะสมาชิกของเครือข่าย
10) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบหนังสือไซเบอร์เสปซ
(Cyberspace books) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประเภทนี้มีลักษณะเหมือนกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์หลาย
ๆ แบบที่กล่าวมาแล้วผสมกัน
สามารถเชื่อมโยงแหล่งข้อมูลทั้งจากแหล่งภายในและภายนอกสามารถนำเสนอข้อมูลในระบบสื่อที่หลากหลาย
สามารถปฏิสัมพันธ์กับผู้อ่านได้หลากหลาย
โครงสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
(eBook
Construction)
ลักษณะโครงสร้างของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์จะมีความคล้ายคลึงกับหนังสือทั่วไปที่พิมพ์ด้วยกระดาษ
หากจะมีความแตกต่างที่เห็นได้ชัดเจนก็คือกระบวนการผลิต รูปแบบ
และวิธีการอ่านหนังสือ
สรุปโครงสร้างทั่วไปของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประกอบด้วย
•
หน้าปก (Front Cover)
•
คำนำ(Introduction)
•
สารบัญ (Contents)
•
สาระของหนังสือแต่ละหน้า (Pages Contents)
•
อ้างอิง (Reference)
•
ดัชนี(Index)
•
ปกหลัง (Back Cover)
หน้าปก หมายถึง ปกด้านหน้าของหนังสือซึ่งจะอยู่ส่วนแรก เป็นตัวบ่งบอกว่าหนังสือเล่มนี้ชื่ออะไร
ใครเป็นผู้แต่ง
คำนำ หมายถึง คำบอกกล่าวของผู้เขียนเพื่อสร้างความรู้
ความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูล และเรื่องราวต่างๆ ของหนังสือเล่มนั้น
สารบัญ หมายถึง ตัวบ่งบอกหัวเรื่องสำคัญที่อยู่ภายในเล่มว่าประกอบด้วยอะไรบ้าง
อยู่ที่หน้าใดของหนังสือ สามารถเชื่อมโยงไปสู่หน้าต่างๆ ภายในเล่มได้
สาระของหนังสือแต่ละหน้า หมายถึง ส่วนประกอบสำคัญในแต่ละหน้า ที่ปรากฏภายในเล่ม ประกอบด้วย
•
หน้าหนังสือ (Page Number)
•
ข้อความ (Texts)
•
ภาพประกอบ (Graphics) .jpg, .gif, .bmp, .png, .tiff
•
เสียง (Sounds) .mp3, .wav, .midi
•
ภาพเคลื่อนไหว (Video Clips, flash) .mpeg, .wav, .avi
•
จุดเชื่อมโยง (Links)
อ้างอิง หมายถึง แหล่งข้อมูลที่ใช้นำมาอ้างอิง อาจเป็นเอกสาร ตำรา หรือ
เว็บไซต์ก็ได้
ดัชนี หมายถึง การระบุคำสำคัญหรือคำหลักต่างๆ ที่อยู่ภายในเล่ม โดยเรียงลำดับตัวอักษรให้สะดวกต่อการค้นหาพร้อมระบุเลขหน้าและจุดเชื่อมโยง
ปกหลัง หมายถึง ปกด้านหลังของหนังสือซึ่งจะอยู่ส่วนท้ายเล่ม
โปรแกรมที่นิยมใช้ในการสร้าง e-Book
1) โปรแกรมชุด Flip Album
2)
โปรแกรม Desktop Author
3)
โปรแกรม Flash Album Deluxe
ชุดโปรแกรมทั้ง 3 จะต้องติดตั้งโปรแกรมสำหรับอ่าน e-Book ด้วย มิฉะนั้นแล้วจะเปิดเอกสารไม่ได้ ประกอบด้วย
1) โปรแกรมชุด Flip Album ตัวอ่านคือ FlipViewer
2)
โปรแกรมชุด DeskTop Author ตัวอ่านคือ DNL Reader
3)
โปรแกรมชุด Flash Album Deluxe ตัวอ่านคือ Flash Player
ข้อดี E-book
1.
ประหยัดต้นทุนในการดำเนินการ
2.
สามารถอยู่ทนทานได้เป็นระยะเวลานาน
3.
ไม่ต้องสต็อคของไว้เป็นจำนวนมากๆ
4.
คุณลักษณะพิเศษกว่าหนังสือกระดาษหลายประการ อาทิ แสดงผลด้วย ภาพ
ข้อความ เสียง
ภาพเคลื่อนไหว
เป็นต้น
5.
สามารถเปิดอ่านเหมือนหนังสือทั่วไป
และพกพาหนังสือจำนวนมากติดตัวไปได้ทุกที่ ทุกเวลา
ไม่ต้องใช้อินเตอร์เน็ต
ใช้คอมพิวเตอร์ธรรมดาเปิดอ่านได้
6.
ยังสามารถเชื่อมโยงกับข้อความต่างๆ ภายในตัวหนังสือหรือภายนอกเว็บไซต์อื่นๆ
จากอินเทอร์เน็ต
7.
ผู้อ่านสามารถอ่านพร้อมๆ
กันได้โดยไม่ต้องรอการยืมหรือคืนเหมือนหนังสือกระดาษในห้องสมุด
8.
รูปแบบหนังสือที่อยู่ในรูปแบบดิจิทัล
โดยแสดงให้เห็นบนจอคอมพิวเตอร์ไม่บังคับการพิมพ์ และการเข้าเล่ม
9.
กำลังพลสามารถ เรียนรู้ เข้าถึงองค์ความรู้ได้สะดวก ทั้งเวลา
สถานที่
ข้อเสีย E-book
1. ต้องอาศัยพลังงานในการอ่านตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นไฟฟ้าหรือแบตเตอรี่
2. เสียสุขภาพสายตา จากการได้รับแสงจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
3. ขาดความรู้สึก หรืออรรถรส หรือความคลาสสิก
4. การอ่านที่ยุ่งยากต้องอ่านจากคอมพิวเตอร์ หรือ Palm
5. ต้องอาศัยระบบเครือข่าย
6. การละเมิดลิขสิทธิ์
ขอบคุณแหล่งที่มาข้อมูล
http://www.getdd.net/techno/64-ebookconstruction.html
http://www.srb1.go.th/anuban/e_book/meanebook.htm
http://www.learners.in.th/blogs/posts/131954
http://www.rta.mi.th/16120u/webpage/manualE-Books.html
ใบงานที่ 1
ให้นักเรียนค้นหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต
ที่กำหนดให้
1.ความหมายของ e-Book
2.วิวัฒนาการของหนังสืออิเล็กทรอนิคส์
3.ประเภทของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
4.โครงสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book
Construction)
5.โปรแกรมที่นิยมใช้สร้าง e-Book
6.ประโยชน์ของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
หาข้อมูลใส่ในโปรแกรม Word แล้วบันทึกส่งที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ครู
ตัวอย่างการตั้งชื่อส่งงาน : เลขที่_ชื่อนักเรียน_งานชิ้นที่ 1
21_มนัส_งานชิ้นที่ 1
มีประโยชน์มากครับ(ประชด)
ตอบลบ